ข้อความวิ่ง

Welcome to website THANIT CHUAECHALAD

บทที่ 1 ระบบสารสนเทศ

บทที่ 1 ระบบสารสนเทศ

ขออธิบายความหมายแยกออกเป็น 2 คำ ที่สัมพันธ์กันคือ

 
tec.jpg (9997 bytes)
.
.

+

sara.jpg (9948 bytes)
.
.
tecsara.jpg (10811 bytes)


เทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ มาใช้ให้เกิดประโยชน์
และเป็นหัวใจของการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและผลิตภัณฑ์
เช่น การนำทรายซึ่งเป็นสารประกอบของซิลิกอนที่มีราคาต่ำ มาสกัดเอาสารซิลิกอนให้บริสุทธิ์ และเจือสารบางอย่างให้เกิดเป็นสิ่งที่เรียกว่าสารกึ่งตัวนำ นำมาผลิตเป็นทรานซิสเตอร์และไอซี ซึ่งไอซีนี้เป็นอุปกรณ์ที่รวมวงจรอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมากไว้ด้วยกัน ใช้ทำชิพ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของคอมพิวเตอร์ ทำให้มีราคาสูงเทคโนโลยีจึงเป็นหนทางที่จะช่วยพัฒนาให้สินค้าและบริการต่าง ๆมีมูลค่าเพิ่มขึ้น
ที่มา:http://www.chakkham.ac.th

สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ หรืออาจกล่าวได้ว่า สารสนเทศ เกิดจากการนำข้อมูล ผ่านระบบการประมวลผล คำนวณ วิเคราะห์และแปลความหมายเป็นข้อความที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
เช่น สารสนเทศที่เป็น
ความรู้ที่เกิดจากวิทยุ โทรศัพท์มือถือ ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ รอบตัวเราซึ่งอาจมาจาก วิทยุ โทรทัศน์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ดาวเทียม โทรศัพท์ เครื่องจักร ที่เกี่ยวกับสารสนเทศได้ เครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่ เช่น การฝาก ถอนเงินผ่านเครื่อง ATM การจองตั๋วเครื่องบิน การลงทะเบียน ฯลฯ
ที่มา:http://www.chakkham.ac.th
เทคโนโลยีสารสนเทศ
หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ การเก็บรวบรวมข้อมูล
การประมวลผล การแสดงผลลัพธ์ การทำสำเนา และการสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อให้ได้สารสนเทศที่
เหมาะสมและสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
point2.jpg (5238 bytes)การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นวิธีการรวบรวมข้อมูลเข้าสู่ระบบ
ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การพิมพ์ป้อนทางแป้นพิมพ์
การใช้เครื่องอ่านรหัสแท่ง(bar code)
c2-3-1.jpg (7998 bytes)
point2.jpg (5238 bytes)การประมวลผล เป็นการนำเสนอข้อมูลที่เก็บมาได้
เข้าสู่กระบวนการประมวลผลตามต้องการเช่น การคำนวน
การเรียงลำดับข้อมูล แยกเป็นกลุ่ม ฯลฯ
ส่วนใหญ่จะดำเนินการด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ จากส่วน
สำคัญที่เรียกว่า ชิพในหน่วยซีพียู
c2-3-2.jpg (6355 bytes)
point2.jpg (5238 bytes)การแสดงผลลัพท์ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีในการแสดงผลลัพธ์
ซึ่งสามารถเป็นตัวหนังสือ รูปภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวแบบวีดีทัศน์
หรือเสียง
c2-3-3.jpg (8911 bytes)
point2.jpg (5238 bytes)การทำสำเนา เป็นการทำสำเนาข้อมูลหรือสารสนเทศที่จัดเก็บไว้
ในสื่ออิเลคทรอนิกส์ชนิดต่าง ๆ ให้มีหลายชุด เพื่อสะดวกต่อการ
เก็บรักษา และการนำไปใช้ อุปกรณ์ที่ใช้ทำสำเนา เช่น เครื่องพิมพ์
เครื่องถ่ายเอกสาร แผ่นบันทึก ฮาร์ดดิสต์หรือ CD-RON
c2-3-4.jpg (9226 bytes)
point2.jpg (5238 bytes)การสื่อสารโทรคมนาคม เป็นวิธีการที่จะส่งข้อมูลจากที่หนึ่งไปยัง
อีกที่หนึ่ง ซึ่งอาจส่งกระจายไปยังปลายทางครั้งละมาก ๆ อุปกรณ์
ที่ใช้ได้แก่ โทรศัพท์ โทรสาร วิทยุ โทรทัศน์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์
คลื่นวิทยุ ดาวเทียม ฯลฯ

ที่มา:http://www.chakkham.ac.th

c2-3-5.jpg (10006 bytes)
 
ข้อมูลและสารสนเทศ
ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงที่มีอยู่ในชีวิตประจำวันเกี่ยวกับบุคคล  สิ่งของ  หรือเหตุการณ์ที่สนใจศึกษา ข้อมูลอาจเป็นตัวเลข (Numeric) เช่น จำนวน ปริมาณ ระยะทาง หรืออาจเป็นตัวอักษรหรือข้อความ (Alphabetic) และข้อความที่เป็นตัวเลขผสมตัวอักษร (Alphanumeric) แต่สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ จะรู้จักข้อมูลเพียง 2 ประเภท คือ
1. ข้อมูลที่ใช้ในการคำนวณ (Numeric) ได้แก่ ข้อมูลที่เป็นตัวเลขล้วนๆ และจะใช้ตัวเลขนั้นในการคำนวณ
2. ข้อมูลที่ไม่นำไปใช้ในการคำนวณ (Character หรือ String) ได้แก่ ข้อมูลที่เป็นตัวอักษร หรือข้อความที่ผสมตัวเลขหรือตัวเลขล้วนๆ แต่ไม่นำไปใช้ในการคำนวณ เช่น อันดับที่เลขประจำตัว บ้านเลขที่ หมายเลขโทรศัพท์ รหัสไปรษณีย์ เป็นต้น
คุณสมบัติของข้อมูลที่ดี
            การจัดเก็บข้อมูลจำเป็นต้องมีแผนในการดำเนินการหรือกล่าวได้ว่าการได้มาซึ่งข้อมูลที่จะนำมาใช้ประโยชน์องค์กรจำเป็นต้องลงทุนทั้งในด้านตัวข้อมูล เครื่องจักร และอุปกรณ์ ตลอดจนการพัฒนาบุคลากรขึ้นมารองรับระบบ
เพื่อให้ใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดการระบบข้อมูลจึงต้องคำนึงปัญหาต่างๆ  และพยายามมองปัญหาแบบที่เป็นจริง สามารถดำเนินการได้ให้ประสิทธิภาพคุ้มค่ากับการลงทุน ข้อมูลที่ดีจะต้องมีคุณสมบัติขั้นพื้นฐานดังนี้
            1)  ความถูกต้อง    เพราะข้อมูลที่ได้ต้องนำไปใช้ในการตัดสินใจ หากข้อมูลไม่มีความถูกต้องแล้วก็จะก่อให้เกิดผลเสียหายตามมา
            2)  ความรวดเร็วและเป็นปัจจุบัน  การได้มาของข้อมูลจำเป็นต้องให้ทันต่อความต้องการของผู้ใช้ ทันสมัย
และทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน
            3)  ความสมบูรณ์  ข้อมูลที่มีความสมบูรณ์ คือ ข้อมูลที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งจะขึ้น
กับวิธีการรวบรวมข้อมูลและวิธีการประมวลผล ดังนั้นในการดำเนินการรวบรวมข้อมูลต้องสำรวจและสอบถาม
ความต้องการในการใช้ข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความสมบูรณ์
            4)  ความกระชับและชัดเจน   การจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากจะต้องใช้พื้นที่มาก จึงจำเป็นต้องออกแบบ
โครงสร้างข้อมูลให้กระชับและสื่อความหมายได้ อาจมีการใช้รหัสแทนข้อมูลให้เหมาะสมเพื่อจัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบ
            5)  ความสอดคล้อง  ความต้องการเป็นเรื่องที่สำคัญ ดังนั้นจึงต้องมีการสำรวจเพื่อหาความต้องการของหน่วยงานและองค์กร ดูสภาพการใช้ข้อมูล และขอบเขตของข้อมูลที่สอดคล้องกับความต้องการ
การดูแลรักษาข้อมูล
             1. การเก็บรักษาข้อมูล  การเก็บรักษาข้อมูล หมายถึง การนำข้อมูลมาบันทึกไว้ในสื่อต่าง ๆ เช่น แผ่นบันทึกข้อมูล นอกจากนี้ยังรวมถึงการดูแล และทำสำเนาข้อมูลเพื่อให้ใช้งานต่อไปในอนาคตได้
             2. การทำสำเนาข้อมูล  การทำสำเนาเพื่อเก็บรักษาข้อมูล  หรือนำไปแจกจ่าย จึงควรคำนึงถึงความจะและความทนทานของสื่อบันทึกข้อมูล            
             3. การสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูล   ข้อมูลต้องกระจายหรือส่งต่อไปยังผู้ใช้งานที่ห่างไกลได้ง่าย 
การสื่อสารข้อมูลจึงเป็นเรื่องสำคัญและมีบทบาทที่สำคัญยิ่งที่จะทำให้การส่งข่าวสารไปยังผู้ใช้ทำได้รวดเร็วและทันเวลา
             4. การปรับปรุงข้อมูล  ข้อมูลที่จัดเก็บไว้มีจุดประสงค์เพื่อการใช้งาน เช่น ในการตัดสินเพื่อดำเนินการ ดังนั้นข้อมูลจึงต้องมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา และจัดเก็บอย่างเป็นระบบเพื่อการค้นหาได้อย่างรวดเร็ว
ชนิดของข้อมูล
ข้อมูลตัวเลข    (Numeric)
      ได้แก่ ตัวเลขต่าง ๆ และสามารถนำไปคำนวณได้ ข้อมูลชนิดนี้อาจเขียนได้หลายรูปแบบซึ่งอาจเป็น
                        จำนวนเต็ม         เช่น 9, 17, 22, 23 เป็นต้น
                        ทศนิยม เช่น 2.94, 3.14, 0.26, -1.98 x10 เป็นต้น
ข้อมูลตัวอักษร (Character)ได้แก่ตัวอักขระและตัวอักษรต่าง ๆ ซึ่งไม่สามารถนำไปคำนวณได้ แต่อาจจะนำไปจัดเรียงได้เช่น TECHNOLGY, 182/3 (เลขที่บ้าน), 15440  (รหัสไปรษณีย์)  เป็นต้น
รหัสแทนข้อมูล
รหัสแอสกี (ASCII) เป็นรหัสที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย รหัสแอสกีเป็นรหัสมาตรฐานที่ได้จากหน่วยงานกำหนดมาตรฐาน ของสหรัฐอเมริกา (ASCII ย่อมาจาก  American Standard Code for Information Interchange)  เป็นรหัส 8 บิตหรือ 1 ไบต์ต่อหนึ่งอักขระและแทนสัญลักษณ์ต่าง ๆ ได้ 256 ตัวรหัสแอสกีจะกำหนดไว้
เป็นเลขฐานสิบเมื่อจะนำไปสู่หน่วยความจำคอมพิวเตอร์จึงจะแปลเป็นเลขฐานสองสำหรับผู้ใช้งานสามารถที่จะเขียนในรูปแบบเลขฐานสิบหกได้ด้วย

ตารางแสดงรหัสแอสก
โครงสร้างข้อมูล (Data Structure)
โครงสร้างข้อมูล (Data Structure)
            1. ตัวอักขระ (Character) หมายถึงสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ใช่ในภาษามนุษย์ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
                        ก. ตัวเลข (Numeric) คือ เลขฐาน 10 ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 0,1,2,3,4,5,6,7,8,9
                        ข. ตัวอักษร (Alphabetic) คือ ตัวอักษร A ถึง Z
                        ค. สัญลักษณ์พิเศษ (Special symbol) เช่น เครื่องหมายคณิตศาสตร์และสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น  +,-,*, /, ? , #, & เป็นต้น
            2. ฟิลด์ (Field) คือ อักขระที่มารวมกันแล้วก่อให้เกิดความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ชื่อ-สกุล อายุ เงินเดือน ที่อยู่ เป็นต้น
            3. เรคคอร์ด (Record) คือ ฟิลด์ที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กันมารวมกัน เช่น เรคคอร์ด นักศึกษาจะประกอบด้วยรายละเอียดของข้อมูลนักศึกษา ได้แก่ รหัสประจำตัวนักศึกษา ชื่อ นักศึกษา เพศ อายุ วิชาเอก เป็นต้น ฉะนั้นข้อมูลนักศึกษา 1 คน จะเป็น 1 เรคคอร์ด
            4. แฟ้มข้อมูล (File) คือ เรคคอร์ดหลายๆ เรคคอร์ดที่เกี่ยวข้องกันมารวมกัน เช่น แฟ้มข้อมูลนักศึกษา จะประกอบด้วยเรคคอร์ดของนักศึกษาแต่ละคนนั่นเอง

ฐานความรู้
ฐานความรู้ (อังกฤษ: knowledge base ย่อว่า KB หรือ kb[1][2]) เป็นฐานข้อมูลชนิดพิเศษสำหรับการจัดการความรู้ ฐานความรู้เป็นแหล่งเก็บสารสนเทศที่มีวิธีการรวบรวม จัดการ แบ่งปัน สืบค้น และนำสารสนเทศมาใช้ให้เป็นประโยชน์ มันอาจเป็นฐานความรู้ที่เครื่องอ่านได้หรือตั้งใจให้มนุษย์ใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง
การจัดการความรู้ (อังกฤษ: Knowledge management - KM) คือ การรวบรวม สร้าง จัดระเบียบ แลกเปลี่ยน และประยุกต์ใช้ความรู้ในองค์กร โดยพัฒนาระบบจาก ข้อมูล ไปสู่ สารสนเทศ เพื่อให้เกิด ความรู้ และ ปัญญา ในที่สุด
การจัดการความรู้ประกอบไปด้วยชุดของการปฏิบัติงานที่ถูกใช้โดยองค์กรต่างๆ เพื่อที่จะระบุ สร้าง แสดงและกระจายความรู้ เพื่อประโยชน์ในการนำไปใช้และการเรียนรู้ภายในองค์กร อันนำไปสู่การจัดการสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการดำเนินการธุรกิจที่ดี องค์กรขนาดใหญ่โดยส่วนมากจะมีการจัดสรรทรัพยากรสำหรับการจัดการองค์ความรู้ โดยมักจะเป็นส่วนหนึ่งของแผนกเทคโนโลยีสารสนเทศหรือแผนกการจัดการทรัพยากรมนุษย์
รูปแบบการจัดการองค์ความรู้โดยปกติจะถูกจัดให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์กรและประสงค์ที่จะได้ผลลัพธ์เฉพาะด้าน เช่น เพื่อแบ่งปันภูมิปัญญา,เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน, เพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน, หรือเพื่อเพิ่มระดับนวัตกรรมให้สูงขึ้น
ใครนิยาม
ปัจจุบันโลกได้เข้าสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge-based Economy – KBE) งานต่างๆ จำเป็นต้องใช้ความรู้มาสร้างผลผลิตให้เกิดมูลค่าเพิ่มมากยิ่งขึ้น การจัดการความรู้เป็นคำกว้างๆ ที่มีความหมายครอบคลุมเทคนิค กลไกต่างๆ มากมาย เพื่อสนับสนุนให้การทำงานของแรงงานความรู้ (Knowledge Worker) มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น กลไกดังกล่าวได้แก่ การรวบรวมความรู้ที่กระจัดกระจายอยู่ที่ต่างๆ มารวมไว้ที่เดียวกัน การสร้างบรรยากาศให้คนคิดค้น เรียนรู้ สร้างความรู้ใหม่ๆ ขึ้น การจัดระเบียบความรู้ในเอกสาร และทำสมุดหน้าเหลืองรวบรวมรายชื่อผู้มีความรู้ในด้านต่างๆ และที่สำคัญที่สุด คือการสร้างช่องทาง และเงื่อนไขให้คนเกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน เพื่อนำไปใช้พัฒนางานของตนให้สัมฤทธิ์ผล
ประเภทของความรู้
ความรู้สามารถแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้สองประเภท คือ ความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) และความรู้แฝงเร้น หรือความรู้แบบฝังลึก (Tacit Knowledge) ความรู้ชัดแจ้งคือความรู้ที่เขียนอธิบายออกมาเป็นตัวอักษร เช่น คู่มือปฏิบัติงาน หนังสือ ตำรา เวปไซด์ Blog ฯลฯ ส่วนความรู้แฝงเร้นคือความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคน ไม่ได้ถอดออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร หรือบางครั้งก็ไม่สามารถถอดเป็นลายลักษณ์อักษรได้ ความรู้ที่สำคัญส่วนใหญ่ มีลักษณะเป็นความรู้แฝงเร้น อยู่ในคนทำงาน และผู้เชี่ยวชาญในแต่ละเรื่อง จึงต้องอาศัยกลไกแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้คนได้พบกัน สร้างความไว้วางใจกัน และถ่ายทอดความรู้ระหว่างกันและกัน
ความรู้แบบฝังลึก
ความรู้แบบฝังลึก (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ไม่สามารถอธิบายโดยใช้คำพูดได้ มีรากฐานมาจากการกระทำและประสบการณ์ มีลักษณะเป็นความเชื่อ ทักษะ และเป็นอัตวิสัย (Subjective) ต้องการการฝึกฝนเพื่อให้เกิดความชำนาญ มีลักษณะเป็นเรื่องส่วนบุคคล มีบริบทเฉพาะ (Context-specific) ทำให้เป็นทางการและสื่อสารยาก เช่น วิจารณญาณ ความลับทางการค้า วัฒนธรรมองค์กร ทักษะ ความเชี่ยวชาญในเรื่องต่างๆ การเรียนรู้ขององค์กร ความสามารถในการชิมรสไวน์ หรือกระทั่งทักษะในการสังเกตเปลวควันจากปล่องโรงงานว่ามีปัญหาในกระบวนการผลิตหรือไม่
ความรู้ชัดแจ้ง
ความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่รวบรวมได้ง่าย จัดระบบและถ่ายโอนโดยใช้วิธีการดิจิทัล มีลักษณะเป็นวัตถุดิบ (Objective) เป็นทฤษฏี สามารถแปลงเป็นรหัสในการถ่ายทอดโดยวิธีการที่เป็นทางการ ไม่จำเป็นต้องอาศัยการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นเพื่อถ่ายทอดความรู้ เช่น นโยบายขององค์กร กระบวนการทำงาน ซอฟต์แวร์ เอกสาร และกลยุทธ์ เป้าหมายและความสามารถขององค์กร
ความรู้ยิ่งมีลักษณะไม่ชัดแจ้งมากเท่าไร การถ่ายโอนความรู้ยิ่งกระทำได้ยากเท่านั้น ดังนั้นบางคนจึงเรียกความรู้ประเภทนี้ว่าเป็นความรู้แบบเหนียว (Sticky Knowledge) หรือความรู้แบบฝังอยู่ภายใน (Embedded Knowledge) ส่วนความรู้แบบชัดแจ้งมีการถ่ายโอนและแบ่งปันง่าย จึงมีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า ความรู้แบบรั่วไหลได้ง่าย (Leaky Knowledge) ความสัมพันธ์ของความรู้ทั้งสองประเภทเป็นสิ่งที่แยกจากกันไม่ได้ ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน (Mutually Constituted) (Tsoukas, 1996) เนื่องจากความรู้แบบฝังลึกเป็นส่วนประกอบของความรู้ทั้งหมด (Grant, 1996) และสามารถแปลงให้เป็นความรู้แบบชัดแจ้งโดยการสื่อสารด้วยคำพูด
ตามรูปแบบของเซซี (SECI Model) (ของ Nonaka และ Takeuchi) ความรู้ทั้งแบบแฝงเร้นและแบบชัดแจ้งจะมีการแปรเปลี่ยนถ่ายทอดไปตามกลไกต่างๆ เช่น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การถอดความรู้ การผสานความรู้ และการซึมซับความรู้
การจัดการความรู้นั้นมีหลายรูปแบบ มีหลากหลายโมเดล แต่ที่น่าสนใจ คือ การจัดการความรู้ ที่ทำให้คนเคารพศักดิ์ศรีของคนอื่น เป็นรูปแบบการจัดการความรู้ที่เชื่อว่า ทุกคนมีความรู้ปฏิบัติในระดับความชำนาญที่ต่างกัน เคารพความรู้ที่อยู่ในคน เพราะหากถ้าเคารพความรู้ในตำราวิชาการอย่างเดียวนั้น ก็เท่ากับว่าเป็นการมองว่า คนที่ไม่ได้เรียนหนังสือ เป็นคนที่ไม่มีความรู้
ระดับของความรู้
หากจำแนกระดับของความรู้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ระดับ คือ
1.             ความรู้เชิงทฤษฏี (Know-What) เป็นความรู้เชิงข้อเท็จจริง รู้อะไร เป็นอะไร จะพบในผู้ที่สำเร็จการศึกษามาใหม่ๆ ที่มีความรู้โดยเฉพาะความรู้ที่จำมาได้จากความรู้ชัดแจ้งซึ่งได้จากการได้เรียนมาก แต่เวลาทำงาน ก็จะไม่มั่นใจ มักจะปรึกษารุ่นพี่ก่อน
2.             ความรู้เชิงทฤษฏีและเชิงบริบท (Know-How) เป็นความรู้เชื่อมโยงกับโลกของความเป็นจริง ภายใต้สภาพความเป็นจริงที่ซับซ้อนสามารถนำเอาความรู้ชัดแจ้งที่ได้มาประยุกต์ใช้ตามบริบทของตนเองได้ มักพบในคนที่ทำงานไปหลายๆปี จนเกิดความรู้ฝังลึกที่เป็นทักษะหรือประสบการณ์มากขึ้น
3.             ความรู้ในระดับที่อธิบายเหตุผล (Know-Why) เป็นความรู้เชิงเหตุผลระหว่างเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่างๆ ผลของประสบการณ์แก้ปัญหาที่ซับซ้อน และนำประสบการณ์มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่น เป็นผู้ทำงานมาระยะหนึ่งแล้วเกิดความรู้ฝังลึก สามารถอดความรู้ฝังลึกของตนเองมาแลกเปลี่ยนกับผู้อื่นหรือถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้พร้อมทั้งรับเอาความรู้จากผู้อื่นไปปรับใช้ในบริบทของตนเองได้
4.             ความรู้ในระดับคุณค่า ความเชื่อ (Care-Why) เป็นความรู้ในลักษณะของความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ที่ขับดันมาจากภายในตนเองจะเป็นผู้ที่สามารถสกัด ประมวล วิเคราะห์ความรู้ที่ตนเองมีอยู่ กับความรู้ที่ตนเองได้รับมาสร้างเป็นองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมาได้ เช่น สร้างตัวแบบหรือทฤษฏีใหม่หรือนวัตกรรม ขึ้นมาใช้ในการทำงานได้
กรอบแนวคิดการจัดการความรู้


ตัวอย่างแผนผังอิชิคะวะ
แผนผังอิชิคะวะ (Ishikawa diagram) หรือแผงผังก้างปลา (หรือในชื่ออื่นของไทยเช่น ตัวแบบทูน่า หรือตัวแบบปลาตะเพียน) เป็นกรอบแนวคิดอย่างง่ายในการจัดการความรู้ โดยให้การจัดการความรู้เปรียบเสมือนปลา ซึ่งประกอบด้วยส่วนหัว ลำตัว และหาง แต่ละส่วนมีหน้าที่ที่ต่างกันดังนี้
1.             ส่วนหัวและตา (Knowledge Vision - KV) มองว่ากำลังจะไปทางไหน ซึ่งต้องตอบให้ได้ว่า "ทำ KM ไปเพื่ออะไร"
2.             ส่วนกลางลำตัว (Knowledge Sharing - KS) ส่วนที่เป็นหัวใจให้ความความสำคัญกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ช่วยเหลือ เกื้อกูลกันและกัน
3.             ส่วนหาง (Knowledge Assets - KA) คือ สร้างคลังความรู้ เชื่อมโยงเครือข่าย ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ "สะบัดหาง" สร้างพลังจากชุมชนแนวปฏิบัติ
สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) ในประเทศไทย ได้พัฒนาตัวแบบทูน่าเป็น "ตัวแบบปลาตะเพียน" โดยมองว่าองค์การมีหน่วยงานย่อย ซึ่งมีความแตกต่างกัน รูปแบบความรู้แต่ละหน่วยจึงต้องปรับให้เหมาะสมกับบริษัทของตน แต่ทั้งฝูงปลาจะหันหน้าไปทิศทางเดียวกัน
กรอบความคิดของ Holsapple Holsapple ได้ทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับพัฒนาการของแนวคิดของการจัดการความรู้ 10 แบบมาประมวล ซึ่งแสดงถึงส่วนประกอบของการจัดการความรู้ (KM elements) เพื่อนำไปจัดระบบเป็นองค์ประกอบหลัก 3 ด้านของการจัดการความรู้ (Three-fold framework) ได้แก่ ทรัพยากรด้านการจัดการความรู้ กิจกรรมการจัดการความรู้ และอิทธิพลของการจัดการความรู้ และให้ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ และผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ให้ข้อคิดเห็น วิจารณ์และข้อเสนอแนะ ได้ผลออกมาเป็นกรอบความร่วมมือ (Collaborative Framework)
การถ่ายทอดความรู้
การถ่ายทอดความรู้ อันเป็นส่วนประกอบของการจัดการองค์ความรู้ ถูกประพฤติปฏิบัติกันมานานแล้ว ตัวอย่างรูปแบบการถ่ายทอดความรู้ เช่น การอภิปรายของเพื่อนร่วมงานในระหว่างการปฏิบัติงาน, การอบรมพนักงานใหม่อย่างเป็นทางการ, ห้องสมุดขององค์กร, โปรแกรมการฝึกสอนทางอาชีพและการเป็นพี่เลี้ยง ซึ่งรูปแบบการถ่ายทอดความรู้มีการพัฒนารูปแบบโดยอาศัยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่กระจายอย่างกว้างขวางในศตวรรษที่ 20 ก่อให้เกิดเทคโนโลยีฐานความรู้, ระบบผู้เชี่ยวชาญและคลังความรู้ ซึ่งทำให้กระบวนการถ่ายทอดความรู้ง่ายมากขึ้น
การจัดการความรู้ กับการพัฒนาระบบราชการในประเทศไทย
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เป็นกฎหมายที่ออกมาเพื่อผลักดันแนวคิดธรรมาภิบาล (Good Governance) ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมขึ้น ในมาตรา ๑๑ กำหนดว่า
ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่างๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและเหมาะสมกับสถานการณ์ รวมทั้งต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัดให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและมีการเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการให้สอดคล้องกับการบริหารราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามพระราชกฤษฎีกานี้ จึงเป็นที่มาของการประเมินผลงานหน่วยราชการต่างๆ โดยมีการจัดการความรู้ เป็นข้อหนึ่งด้วย หน่วยราชการไทยจำนวนมากจึงเริ่มสนใจการจัดการความรู้ ด้วยสาเหตุนี้
การใช้ฐานความรู้ขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่สังคมฐานความรู้
ในปัจจุบัน ในประเทศไทยมีหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนหลายหน่วยงาน ได้ให้ความสำคัญและผลักดันกิจกรรมการจัดการความรู้ อาทิ
·         ลานแลกเปลี่ยนเรียนรู้เสมือน Gotoknow พัฒนาโดยอาจารย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสนับสนุนโดยสคส.
·         เครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เช่น เครือข่ายการจัดการความรู้ระหว่างมหาวิทยาลัย (UKM, เครือข่ายเบาหวาน
อ้างอิง
·         องค์การแห่งความรู้ : จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ,ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์,2549. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: รัตนไตร.
·         สิ่งดีๆ ที่หลากหลายสไตล์ KM (Best Practice KM Style). รายงานประจำปี 2549 สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) ISBN 974-973-423-1
·         รายงานประจำปี KM ประเทศไทย (สคส.) 2548 ISBN 974-93722-9-8
·         ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. (2548). การจัดการความรู้. ใน วารสารพัฒนบริหารศาสตร์, 45(2), 1-24.
·         พิเชฐ บัญญัติ. (2549). การจัดการความรู้ในองค์กร. ใน วารสารห้องสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 13(1), 118-122.
·         ดร.กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ (2553) เอกสารประกอบการบรรยาย การจัดการความรู้ มหาวิทยาลัยรังสิต
แหล่งข้อมูลอื่น
·         การจัดการความรู้คืออะไร กรมการปกครอง



โครงสร้างระบบสารสนเทศ ได้แก่
                          1   ระบบการประมวลผลทางธุรกิจ
 (Transaction Processing System : TPS)
      ระบบการประมวลผล เป็นการประมวลผลแบบวันต่อวัน เช่น การรับ-จ่ายบิล ระบบควบคุมสินค้าคงคลัง ระบบการรับ-จ่าย สินค้า เป็นต้น ใช้งานในระดับผู้ปฏิบัติการ ระบบนี้ เป็นระบบสารสนเทศลำดับแรกที่ได้รับการพัฒนาให้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์
               ลักษณะเด่นของ TPS
              ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน สิ่งที่ องค์กรจะได้รับเมื่อใช้ระบบนี้ คือ  ลดจำนวนพนักงาน   องค์กรจะมีการบริการที่สะดวกรวดเร็ว    ลูกค้ามีจำนวนเพิ่มมากขึ้น
                              2  ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ          
(Management Information System : MIS)
               คือ ระบบที่เกี่ยวข้องกับผู้ บริหารที่ต้องการการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้ประโยชน์มากกว่าการ ช่วยงานแบบวันต่อวัน ประกอบไปด้วยโปรแกรมต่าง ที่จัดทำขึ้นเป็นพิเศษเพื่อขยายขอบเขตความสามารถของธุรกิจ

ลักษณะเด่นของ MIS
1  จะสนับสนุนการทำงานของระบบประมวลผลข้อมูลและการจัดเก็บ ข้อมูลรายวัน
2  จะช่วย ให้ผู้บริหารระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง เรียกใช้ ข้อมูลที่เป็นโครงสร้างได้ตามเวลาที่ต้องการ
3จะมีความยืดหยุ่นและสามารถรองรับความต้องการข้อมูลที่ เปลี่ยนแปลงไปขององค์กร
4ต้องมีระบบรักษาความลับของข้อมูล และจำกัดการ ใช้งานของบุคคลเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น  
                                      3  ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
(Decision Support System : DSS)
            คือระบบที่ทำหน้าที่จัดเตรียม สารสนเทศเพื่อช่วยในการตัดสินใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อช่วย ในการตัดสินใจที่ไม่ได้คาดไว้ล่วงหน้า เช่น การตัดสิน ใจเกี่ยวกับการรวมบริษัทและการหาบริษัทร่วม การขยายโรงงาน ผลิตภัณฑ์ใหม่
ลักษณะเด่นของ DSS
1 จะช่วย ผู้บริหารในกระบวนการการตัดสินใจ                                                                                              
2 จะถูกออกแบบมาให้สามารถเรียกใช้ทั้งข้อมูลแบบ กึ่งโครงสร้างและแบบไม่มีโครงสร้าง              
3 จะต้อง สามารถสนับสนุนผู้ตัดสินใจได้ในทุกระดับ แต่จะเน้น ที่ระดับวางแผนบริหารและวางแผนยุทธศาสตร์                        
4 มีรูปแบบการใช้งานอเนกประสงค์ มีความ สามารถในการจำลองสถานการณ์ และมีเครื่องมือในการ วิเคราะห์สำหรับช่วยเหลือผู้ทำการตัดสินใจ
4  ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง
(Executive Information System : EIS)
         คือ EIS ประเภท พิเศษ ที่ถูกพัฒนาสำหรับผู้บริหารระดับสูงโดยเฉพาะช่วย ให้ผู้บริหารระดับสูงที่ไม่คุ้นเคยกับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถใช้ระบบ สารสนเทศได้ง่ายขึ้น โดยใช้เมาส์เลื่อนหรือจอภาพแบบ สัมผัส เพื่อเชื่อมโยงข่าวสารระหว่างกัน ทำให้ผู้ บริหารไม่ต้องจำคำสั่ง
ลักษณะเด่นของ EIS
1ไม่จำเป็นต้องมีทักษะทางคอมพิวเตอร์สูง
2 ระบบสามารถใช้งานได้ง่าย
3 มีความยืดหยุ่นสูง จะต้องสามารถเข้ากันได้กับรูปแบบการทำงานของผู้บริหาร
4 การใช้งาน ใช้ในการตรวจสอบ ควบคุม
5 การสนับสนุนการตัดสินใจ ผู้บริหารระดับสูง ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน
6 การสนับสนุนข้อมูล ทั้งภายในและภายนอกองค์กร
7 ผลลัพธ์ที่แสดง ตัวอักษร ตาราง ภาพและเสียง รวมทั้งระบบมัลติมีเดีย
8 การใช้งานกราฟิกสูง จะใช้รูปแบบการนำเสนอต่าง ๆ
9 ความเร็วในการตอบสนอง จะต้องตอบสนองอย่างรวดเร็ว ทันทีทันใด
5    ระบบผู้เชี่ยวชาญ
(Artificial Intelligence/Expert System : AI/ES)
              หมายถึง ระบบที่ทำให้เครื่อง คอมพิวเตอร์กลายเป็นผู้ชำนาญการณ์ในสาขาใดสาขาหนึ่ง โดยได้รับ ความรู้จากมนุษย์ผู้เชี่ยวชาญเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์เพื่อให้คอมพิวเตอร์ สามารถวิเคราะห์เหตุผล เพื่อตัดสินใจ ระบบคอมพิวเตอร์นี้ประกอบด้วย ฐานความรู้(Knowledge Base) และกฎข้อวินิจฉัย(Inference Rule) ซึ่งเป็นความ สามารถเฉพาะที่ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถตัดสินใจได้เอง เช่น การวินิจฉัย ความผิดพลาดของรถจักรดีเซลไฟฟ้า โดยใช้คอมพิวเตอร์

ลักษณะเด่นของ AI/ES
1 ป้องกันและรักษาความรู้ซึ่งอาจสูญหายไปขณะทำการเรียกข้อมูลหรือการยกเลิกการใช้ข้อมูล การใช้ข้อมูล ตลอดจนการสูญหาย เนื่องจากขาดการเก็บรักษาความรู้ อย่างเป็นระบบ และเป็นระเบียบ แบบแผน
2 ระบบผู้เชี่ยวชาญ Expert System จะจัดเตรียมข้อมูลให้อยู่ในลักษณะที่พร้อมสำหรับนำไปใช้งาน และมักจะถูกพัฒนาให้สามารถตอบสนอง ต่อปัญหาในทันทีที่เกิดความต้องการ
3 การออกแบบระบบผู้เชี่ยวชาญ Expert System มักจะคำนึงถึงการบันทึกความรู้ในแต่ละสาขาให้เพียงพอและเหมาะสมกับการใช้งาน ซึ่งจะทำให้ ระบบสามารถปฏิบัติงานแทนผู้เชี่ยวชาญ อย่างมีประสิทธิภาพ
4 ระบบผู้เชี่ยวชาญ Expert System จะสามารถตัดสินปัญหาอย่างแน่นอ น เนื่องจากระบบถูกพัฒนาให้สามารถปฏิบัติงานโดยปราศ จากผล กระทบ ทางร่างกายและอารมณ์ที่มีอยู่ในตัวมนุษย์เช่น ความเครียด ความเจ็บ ป่วย เป็นต้น
5 ระบบผู้เชี่ยวชาญ Expert System เป็นเครื่องมือเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจ โดยเฉพาะองค์การสมัยใหม่ ( Modern Organization ) ที่ต้องการ สร้าง ความได้เปรียบในการแข่งขัน เช่น การวิเคราะห์และวางแผนการตลาด การลดต้นทุน การเพิ่มการผลิตภาพ เป็นต้น

การอ้างอิง http://guru.google.co.th/guru/thread

ความหมาย และวิวัฒนาการของเทคโนโลยีการสื่อสาร


องค์ประกอบที่สำคัญของการสื่อสารประการหนึ่งคือ “สื่อ” หรือ “medium” สื่อที่ว่านี้อาจเป็นสื่อบุคคล สื่อมวลชน หรือสื่อกิจกรรมใดๆ ที่สามารถส่ง “สาร” จาก “ผู้ส่ง”ไปยัง “ผู้รับ” ได้บางครั้งการสื่อสารต้องอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้การสื่อสารสามารถกระทำได้สะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้น จึงควรทำความเข้าใจถึงความหมาย วิวัฒนาการ และความสำคัญของเทคโนโลยีการสื่อสารด้วย วามหมายของเทคโนโลยีการสื่อสาร
“เทคโนโลยีการสื่อสาร” (Communication Technology) มีความหมายตรงๆถึง “สื่อที่ช่วยในการถ่ายทอดสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร” เช่น วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้น เทคโนโลยีดิจิตัลช่วยในการประมวลและจัดการกับข้อมูลจำนวนมากๆได้ จึงเรียกเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับเครื่องคอมพิวเตอร์ว่า “เทคโนโลยีสารสนเทศ” (Information Technology) วิวัฒนาการของเทคโนโลยีดำเนินไปอย่างไม่สิ้นสุด ทำให้เกิดการผสมผสานศักยภาพระหว่าง “เทคโนโลยีการสื่อสาร” และ “เทคโนโลยีสารสนเทศ” เกิดเป็น “เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร” (Communication and Communication Technology หรือ ICT) ซึ่งช่วยให้การสื่อสารของมนุษย์สามารถกระทำได้ง่าย รวดเร็ว กว้างขวาง และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ดังนั้น ความหมายของ “เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร” (ICT) จึงเป็นร่มใหญ่ที่รวมเอาเครื่องมือการสื่อสาร การประยุกต์ใช้ ซึ่งมีความหมายรวมถึง วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์และเครือข่าย ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ต่างๆ ระบบดาวเทียม ฯลฯ รวมทั้งการบริการและการใช้ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเหล่านี้ เช่น การประชุมทางไกล หรือการเรียนทางไกล ดังนั้น ICT จึงมักถูกกล่าวถึงในบริบทเฉพาะ เช่น ICT ในการศึกษา ICT ในการบริการสาธารณสุข และ ICT ในการพัฒนาท้องถิ่น เป็นต้น
วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
มนุษย์มีการใช้เครื่องมือหรือเทคโนโลยีต่างๆเพื่อการสื่อสารมาเป็นเวลานานนับพันปี จากภาพที่ 1 จะเห็นว่า ในระยะแรกนั้น มนุษย์ใช้เทคโนโลยีที่ประดิษฐ์ขึ้นจากธรรมชาติ เช่น แผ่นปาปีรัส การตีกลอง การเป่าเขาสัตว์ จนกระทั่งมีการประดิษฐ์หนังสือพิมพ์ขึ้นประมาณ 59 ปีก่อนคริสตกาล การสื่อสารด้วยเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์เริ่มต้นขึ้นเมื่อมีการส่งสัญญาณโทรเลขในปี ค.ศ. 1838 และการเกิดขึ้นของวิทยุกระจายเสียงใน ค.ศ. 1848 ในขณะเดียวกันนักประดิษฐ์ส่วนหนึ่งก็กำลังพัฒนาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ขึ้นมา แต่ยังไม่สามารถนำมาใช้งานได้ทั่วไป สื่อโทรทัศน์เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1927 และช่วงทศวรรษที่ 1960s (ระหว่าง ค.ศ. 1960 – 1969) คอมพิวเตอร์ก็ถูกนำมาใช้แพร่หลายมากขึ้น และมีการเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายในเวลาต่อมา เทคโนโลยีที่เรียกกันว่าเป็นสื่อสมัยใหม่อย่างอินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1983 และกลายเป็นเทคโนโลยีที่ปฏิวัติโลกการสื่อสารเลยทีเดียว

ในส่วนของเทคโนโลยีโทรศัพท์ไร้สายนั้น ยุคแรกของโทรศัพท์ไร้สายอยู่ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1980s (ระหว่าง ค.ศ. 1980 – 1989) เทคโนโลยีโทรศัพท์มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วพร้อมศักยภาพที่สูงขึ้น ก้าวไปสู่โทรศัพท์ยุคที่ 2 และ 3 และ 4 ซึ่งทำให้คนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้รวดเร็วทันใจ ด้วยเทคโนโลยีที่มีคุณสมบัติในการเคลื่อนที่ได้ (mobility) ตลอดเวลา สามารถรับส่งข้อมูลได้ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพยนตร์ หรือรับฟังรายการวิทยุและรับชมรายการโทรทัศน์ได้จากโทรศัพท์ที่อยู่ในมือเราเท่านั้น
 ที่มา: http://commons.wikimedia.org/wiki/File:Timeline_of_communication_tools.jpg


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น