ข้อความวิ่ง

Welcome to website THANIT CHUAECHALAD

บทที่ 2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

บทที่ 2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
 ความหมายของฮาร์ดแวร์
ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะทำหน้าที่แตกต่างกันไปตามคุณลักษณะของ องค์ประกอบพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ ดังนี้
1) หน่วยรับเข้า ทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูล เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยอาจส่งผ่านอุปกรณ์ รับเข้าข้อมูลโดยตรง เช่น เมาส์ , แผงแป้นอักขระ, ปากกาแสง, ก้านควบคุม ฯลฯ หรือส่งผ่านอุปกรณ์ รับเข้าข้อมูลทางอ้อม เช่น เครื่องขับ, แผ่นบันทึก , เครื่องขับเทปแม่เหล็ก เป็นต้น
2) หน่วยประมวลผลกลาง หรือ ไมโครโพรเซสเซอร์ ของไมโครคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่นำคำสั่งและข้อมูล เก็บไว้ในหน่วยความจำมาแปลความหมาย และ กระทำตามคำสั่งพื้นฐานของไมโครโพรเซสเซอร์ ซึ่งแทนได้ด้วยรหัสเลขฐานสอง ซึ่งประกอบด้วย หน่วยควบคุม หน่วยคำนวณและหน่วยตรรกะ
3) หน่วยส่งออก หรือหน่วยแสดงผล ซึ่งประกอบด้วย จอภาพ (Monitor) ลำโพง (Speaker) และเครื่องพิมพ์ (Printer)

ที่มา : http://www.rayongwit.ac.th/computer50/web-m2-wed/g15m2wed/hardw.htm

ความหมายของซอฟต์แวร์ การใช้งานระบบสารสนเทศด้วยคอมพิวเตอร์ จำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์ควบคุมการทำงาน เช่น การซื้อของโดยใช้บัตรเครดิต ผู้ขายจะตรวจสอบบัตรเครดิตโดยใช้เครื่องอ่านบัตร แล้วส่งข้อมูลของบัตรเครดิตไปยังศูนย์ข้อมูลของบริษัทผู้ออกบัตร การตรวจสอบจะกระทำกับฐานข้อมูลกลาง โดยมีกลไกหรือเงื่อนไขของการตรวจสอบ จากนั้นจึงให้คำตอบว่าจะยอมรับหรือปฏิเสธบัตรเครดิตใบนั้น การดำเนินการเหล่านี้เป็นไปโดยอัตโนมัติตามคำสั่งซอฟต์แวร์
ทำนองเดียวกันเมื่อซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้า พนักงานเก็บเงินจะใช้เครื่องกราดตรวจอ่านรหัสแท่งบนสินค้าทำให้บนจอภาพปรากฏชื่อสินค้า รหัสสินค้า และราคา ในการดำเนินการนี้ต้องใช้ซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ทำงานได้
ซอฟต์แวร์ คือ ชุดคำสั่งที่สั่งงานคอมพิวเตอร์เป็นลำดับขั้นตอนของการทำงาน ชุดคำสั่งเหล่านี้ได้จัดเตรียมไว้ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์อ่านชุดคำสั่งแล้วทำงานตาม ซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งที่มนุษย์จัดทำขึ้น และคอมพิวเตอร์จะทำงานตามคุณลักษณะของซอฟต์แวร์ที่วางไว้แล้วเท่านั้น
ชนิดของซอฟต์แวร์แบ่งเป็นสองประเภทใหญ่ คือ ซอฟต์แวร์ระบบ (system software) และซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software)

ที่มา : http://it.benchama.ac.th/ebook/files/chap5-1.htm

peopleware หมายถึง
peopleware หมายถึง บุคลากรในงานด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งาน สั่งงานเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการ แบ่งออกได้ 4 ระดับ ดังนี้1. ผู้จัดการระบบ (System Manager)2. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst)3. โปรแกรมเมอร์ (Programmer)4. ผู้ใช้ (User)พีเพิลแวร์ (Peopleware) คือ บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำงานของเคื่องคอมพิวเตอร์ พีเพิลแวร์หรือบุคลากรด้านคอมพิวเตอร์นับว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด เพราะบุคคลากรจะเป็นผู้จัดการหรือผู้ดำเนินงานให้ระบบคอมพิวเตอร์ดำเนินต่อไปได้เราสามารถแบ่งบุคลากรเป็นกลุ่ม ๆ ตามหน้าที่การทำงานได้ดังต่อไปนี้1. นักวิเคราะห์ระบบงาน (System Analysist :SA) คือ บุคลากรที่ทำหน้าที่ในการติดต่อประสานงานกับผู้ใช้โปรแกรม ผู้จัดองค์กรและโปรแกรมเมอร์ ทำการศึกษาวิเคราะห์ระบบงานเดิม ออกแบบระบบงานใหม่ ติดตั้งระบบงานใหม่ รวมทั้งประเมินผลระบบงาน นักวิเคราะห์ระบบต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถมากกว่าโปรแกรมเมอร์ จบการศึกษาสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาบริหารธุรกิจ สาขาคณิตศาสตร์ ศึกษาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีใหม่อย่างสม่ำเสมอ ปัจจุบันยังขาดแคลนนักวิเคราะห์ระบบงานที่มีความรู้ความชำนาญ เพราะนักวิเคราะห์ระบบส่วนใหญ่ต้องอาศัยประสบการณ์สูง เช่น ฝ่ายการเงินต้องการนำคอมพิวเตอร์มาคิดคำนวณเรื่องรายรับ รายจ่ายของบริษัท นักวิเคราะห์ระบบก็ต้องศึกษาในเรื่องของการเงิน ขั้นตอนการทำงานของฝ่ายการเงิน กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเงิน เมื่อศึกษารายละเอียดข้อมูลได้ตามต้องการแล้วนักวิเคราะห์ระบบจึงดำเนินการออกแบบระบบใหม่ที่ใช้คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลด้านการเงินต่อไป2. โปรแกรมเมอร์ (Programmer) คือ บุคลากรที่ทำหน้าที่นำระบบงานใหม่ที่นักวิเคราะห์ระบบได้ออกแบบไว้มาสร้างเป็นโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่ง โดยทำการเลือกภาษาคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับระบบงานนั้น ๆ ต้องมีความรู้ในเรื่องการใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ แนวคิดแบบตรรกะ (Logic) ของโปรแกรม มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเอกสารที่ได้จากการออกแบบระบบ เทคนิคการออกแบบระบบงาน ทำงานร่วมกันเป็นทีม 3. วิศวกรระบบ (System Engineer) คือ บุคลากรที่ทำหน้าที่ออกแบบ สร้าง ซ่อม บำรุง และดูแลรักษาฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ ต้องมีความรู้เกี่ยวกับ โครงสร้างของฮาร์ดแวร์ หลักการทำงานของฮาร์ดแวร์ สามารถออกแบบและติดตั้งฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ได้ 4. ผู้บริหารระบบงาน (Administrator) คือ ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้บริหารระบบงานหรือองค์กรด้านคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็นกลุ่ม ๆ ได้ดังนี้ - ผู้บริหารศูนย์คอมพิวเตอร์ (Computer Center Administrator) คือบุคลากรท่ำทหน้าที่บริหารศูนย์หรือองค์กรทางด้านคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ มีหน้าที่กำหนดนโยบายและวางแผนการบริหารเพื่อให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย - ผู้บริหารฐานข้อมูล (Database Administrator : DBA) คือ บุคลากรที่ทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและวางแผนการบริหารการจัดการฐานข้อมูลและการดูแลรักษาฐานข้อมูลขององค์กร5. พนักงานปฏิบัติการ (Operator) คือ บุคลากรที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ หรือภารกิจประจำวันที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์6. ผู้ใช้ (User) คือ กลุ่มบุคลากรที่เป็นผู้ใช้ (User) และเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบงานของคอมพิวเตอร์ในฐานะผู้ใช้ระบบงานหรือเป็นผู้ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ตามวัตถุประสงค์ของตนเองหรือตามหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติในภาระกิจประจำวันของตนเอง


ข้อมูล ข้อเท็จจริง หรือ สิ่งที่ยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง สำหรับใช้ในเป็นหลักอนุมานหาความจริง
Raw data : สิ่งที่ได้จาการสังเกตปรากฏการณ์ การกระทำ หรือ ลักษณะต่างๆของวัตถุ สิ่งของ สัตว์ หรือ พืช แล้วบันทึกไว้เป็นตัวเลข สัญลักษณ์ ภาพ หรือ เสียง
Data
Processes-IT
Information
10 Processes : Data to Information
1.การรวบรวมข้อมูล
2.การตรวจสอบข้อมูล
3.การจัดหมวดหมู่
4.การเรียงลำดับข้อมูล
5.การสรุป
6.การคำนวณ
7.การจัดเก็บข้อมูลให้เป็นระบบ
8.การค้นคืนข้อมูล
9.การจัดทำสำเนา
10.การแพร่กระจายและสื่อสารข้อมูล
Information: สารสนเทศ
ข้อมูล ข่าวสาร ข้อเท็จจริงที่ผ่านการวิเคราะห์ ประมวลผล สามารถนำไปใช้งานได้

Information : ข้อสนเทศ, สารนิเทศ สารสนเทศ
ข้อมูลที่ได้รับการประมวลผลให้อยู่ในรูปแบบทีมีความหมายต่อผู้รับ และมีคุณค่าสำหรับการตัดสินใจในปัจจุบัน หรือ อนาคต
(ครรชิต มาลัยวงศ์, 2535 : 12)

Quality Information

- ความถูกต้อง
- ตรงต่อความต้องการ.
- ทันเวลา
- สมบูรณ์
- กระทัดรัดได้ใจความ
- มีคุณค่า /ประโยชน์


ร้านขายของสะดวกซื้อ

ฮาร์ดแวร์ (hardware) หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ (รูปธรรม) เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ตามลักษณะการทำงาน ได้ 4 หน่วย คือ หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) หน่วยแสดงผล (Output Unit) หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage) โดยอุปกรณ์แต่ละหน่วยมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน ดังนี้
1. หน่วยประมวลผลกลาง (CPU)
หน่วยประมวลผลกลาง ( CPU : Central Processing Unit ) หรือมักจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าไมโครโปรเซสเซอร์ มีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูล ในลักษณะของการคำนวณและเปรียบเทียบ โดยจะทำงานตามจังหวะเวลาที่แน่นอน เรียกว่าสัญญาณ Clock เมื่อมีการเคาะจังหวะหนึ่งครั้ง ก็จะเกิดกิจกรรม 1 ครั้ง เราเรียกหน่วย ที่ใช้ในการวัดความเร็วของซีพียูว่า “เฮิร์ท”(Herzt) หมายถึงการทำงานได้กี่ครั้งในจำนวน 1 วินาที เช่น ซีพียู Pentium4 มีความเร็ว 2.5 GHz หมายถึงทำงานเร็ว 2,500 ล้านครั้ง ในหนึ่งวินาที กรณีที่สัญญาณ Clock เร็วก็จะทำให้คอมพิวเตอร์เครื่องนั้น มีความเร็วสูงตามไปด้วย ซีพียูที่ทำงานเร็วมาก ราคาก็จะแพงขึ้นมากตามไปด้วย การเลือกซื้อจะต้องเลือกซื้อให้เหมาะสมกับงานที่ต้องการนำไปใช้ เช่นต้องการนำไปใช้งานกราฟิกส์ ที่มีการประมวลผลมาก จำเป็นที่จะต้องใช้เครื่องที่มีการประมวลผลได้เร็ว ส่วนการพิมพ์รายงานทั่วไปใช้เครื่องที่ความเร็ว 100 MHz ก็เพียงพอแล้ว


ที่มา : http://hardware.arip.co.th/feature/cpu_for_use/basic_pc.jpg


2. หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)
หน่วยป้อนข้อมูล (Input Unit) ทำหน้าที่ในการป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการป้อนข้อมูล เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ได้แก่ แป้นพิมพ์ สำหรับพิมพ์ตัวอักษรและอักขระต่าง ๆ เมาส์สำหรับคลิกสั่งงานโปรแกรม สแกนเนอร์สำหรับสแกนรูปภาพ จอยสติ๊ก สำหรับเล่นเกมส์ ไมโครโฟนสำหรับพูดอัดเสียง และกล้องดิจิตอลสำหรับถ่ายภาพ และนำเข้าไปเก็บไว้ ในดิสก์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อนำไปใช้งานต่อไป


ที่มา : http://www.overclockzone.com/news/
information/2008/12/37

ที่มา : http://www.rmutphysics.com/CHARUD/
oldnews/265/wireless/cp4_2.html


3. หน่วยแสดงผล (Output Unit)
หน่วยแสดงผล (Output Unit) มีหน้าที่ในการแสดงผลข้อมูล ที่ผ่านการประมวลผลในรูปของ ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวหรือ เสียง เป็นต้น อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการแสดงผลได้แก่ จอภาพ (Monitor) สำหรับแสดงตัวอักษรและรูปภาพ เครื่องพิมพ์ (Printer) สำหรับพิมพ์ข้อมูลที่อยู่ในเครื่อง ออกทางกระดาษพิมพ์ ลำโพง (Speaker) แสดงเสียงเพลงและคำพูด เป็นต้น


ที่มา : http://www.vcharkarn.com/varticle/39315

ที่มา : http://support.euro.dell.com/support/edocs/
acc/hk395/th/intro.htm


4. หน่วยความจำ (Memory Unit)
หน่วยความจำ (Memory Unit) มีหน้าที่ในการจำข้อมูล ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ มีอยู่ 2 ชนิดคือ หน่วยความถาวร (ROM : Read Only Memory) เป็นหน่วยความจำที่สามารถจำข้อมูลได้ตลอดเวลา ส่วนหน่วยความจำอีกประเภทหนึ่งคือ หน่วยความจำชั่วคราว (RAM : Random Access Memory) หน่วยความจำประเภทนี้ จะจำข้อมูลได้เฉพาะช่วงที่มี การเปิดไฟเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น หน่วยความจำชั่วคราว ถือว่าเป็นหน่วยความจำหลักภายในเครื่อง สามารถซื้อมาติดตั้งเพิ่มเติมได้ เรียกกันทั่วไปคือหน่วยความจำแรม ที่ใช้ในปัจจุบันคือ แรมแบบ SDRAM , RDRAM เป็นต้น


(RAM : Random Access Memory)

(ROM : Read Only Memory)
ที่มา : http://blogger.sanook.com/mk_melody/2008/12


5. หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage)
หน่วยความจำสำรองคืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลไว้ใช้ในโอกาสต่อไป เนื่องจากหน่วยความจำแรม จำข้อมูลได้เฉพาะช่วงที่มีการเปิดไฟ เข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น ถ้าต้องการเก็บข้อมูลไว้ใช้ในโอกาสต่อไป จะต้องบันทึกข้อมูลลงในหน่วยความจำสำรอง ซึ่งหน่วยความจำสำรองมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน แต่มีนิยมใช้กันทั่วไปคือ ฮาร์ดดิสก์ ดิสก์ไดร์ฟ ซีดีรอม ดีวีดีรอม ทัมท์ไดร์ฟ เป็นต้น


สิ่งที่ควรพิจารณาในการเลือกซื้อโปรแกรมบัญชี 9 ประการ

1. โปรแกรมบัญชี ถูกพัฒนาด้วยเครื่องมือใด ?
การเลือกใช้เครื่องมือในการพัฒนาโปรแกรมมีผมต่อการเลือกซื้อ กล่าวคือ ถ้าโปรแกรมเมอร์เลือกใช้เครื่องมือในการพัฒนาที่ดี โปรแกรมก็สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไข feature ต่างๆ ในอนาคต ซึ่งก็จะสามารถนำเทคโนโลยี่ใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์กับองค์กรณ์มาพัฒนาเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของโปรแกรมและประสิทธิผลขององค์กรณ์ได้มากขึ้น และในขณะเดียวกันก็ไม่ต้องกังวลเรื่องของการดูแลหลังการขายมากนัก เพราะเมื่อเลือกใช้เครื่องมือที่ดีในการพัฒนา ก็จะพบปัญหาของการใช้งานน้อยเช่นกัน

2. โปรแกรมบัญชี มีศักยภาพในการเข้าถึงข้อมูลหรือการแสดงผลเป็นอย่างไร ? พูดให้เข้าใจง่ายๆคือ ความเร็วในการใช้งานของโปรแกรม ข้อนี้ไม่สามารถตรวจสอบได้จากข้อมูลที่ผู้ขายกล่าวอ้าง แต่จะตรวจสอบได้จากการใช้งานจริงเท่านั้น โดยการจำลองสถาณการณ์ในการทำงานจริงขึ้นมา และที่สำคัญคือต้องมีข้อมูลในการทดสอบที่มีปริมาณมากพอเพื่อดูความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล
ว่ารวดเร็วเพียงใด user รับได้หรือไม่

3. โปรแกรมบัญชี มีการจัดเก็บข้อมูลอย่างไร ? ต้องดูว่าลักษณะการจัดเก็บข้อมูลของโปรแกรมจัดเก็บในลักษณะใด ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น file base กับ data base ซึ่งการเก็บข้อมูลที่ดีควรเก็บใน database จะทำให้ข้อมูลมีความปลอดภัยต่อความเสียหายมากกว่า

4. โปรแกรมบัญชี มีความเป็น User Friendly เพียงใด ? คือ user สามารถใช้งานโปรแกรมได้ง่ายและรวดเร็ว ไม่รู้สึกอึดอัดหรือติดขัดใดๆ ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีน้ำหนักในการตัดสินใจซื้อโปรแกรมนั้นๆ เพราะว่า user คือผู้ที่อยู่กับโปรแกรมตลอดเวลาในการทำงาน หากโปรแกรมใช้งานง่าย user เองก็จะมีความสุขในการทำงานด้วย

5. โปรแกรมบัญชี มีความความถูกต้องของข้อมูลมากน้อยแค่ไหน ? เป็นประเด็นสำคัญที่ต้องตรวจสอบ เพราะถ้าตัวเลขในรายงานไม่ถูกต้องการใช้โปรแกรมก็จะไม่เกิดประโยชน์ใดๆ และควรได้รับการตรวจสอบจากการทดลองใช้งานจริงเท่านั้น

6. โปรแกรมบัญชี ที่ท่านเลือกมีการบริการหลังการขายเป็นอย่างไร ? เมื่อการ Implement สิ้นสุดลงการบริการหลังการขายเป็นสิ่งสำคัญ ถึงแม้การใช้งานในระหว่าง implement ไม่ได้เกิดปัญหาใดๆก็ตาม เพราะปัญหาของการใช้งานสามารถเกิดได้จากหลายๆ ส่วน ผู้เลือกซื้อโปรแกรมควรแน่ใจว่าบริษัทผู้ขายมีทีม support ที่มีประสบการณ์ และมีมากพอที่จะดูแลและแก้ไขปัญหาได้ในทันทีที่เกิดปัญหา

7. โปรแกรมบัญชี รองรับการเชื่อมต่อและขยายกิจการหรือไม่ ? ในอนาคตบริษัทของเราอาจมีการขยายสาขาหรือมีปริมาณข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้น ก็ต้องดูด้วยว่าโปรแกรมที่จะซื้อสามารถรองรับการขยายได้มากน้อยแค่ไหน และถ้าได้ การเชื่อมต่อในระยะทางไกลๆมีปัญหาในการใช้งานหรือไม่ และเพื่อความมั่นใจ อาจต้องขอให้ผู้ขายทดลองการใช้งานในลักษณะดังกล่าวให้ดูเพื่อความแน่ใจว่าทำได้จริง

8. บริษัทผู้พัฒนาโปรแกรมบัญชี มีความมั่นคงและมีประสบการณ์มากน้อยเพียงใด ? ตรวจสอบดูว่าผู้จำหน่ายมีประสบการณ์มามากน้อยแค่ไหน มีความมั่นคงและชื่อเสียงของผู้จำหน่ายมีมากน้อยเพียงใด เป็นส่วนเสริมที่ช่วยให้เราสามารถตัดสินใจเลือกซื้อโปรแกรมได้ง่ายขึ้น เพาะอย่างน้อยก็ต้องมี reference site ที่สามารถอ้างอิงและสามารถโทรไปสอบถามถึงการใช้งานของบริษัทเหล่านั้นได้ เราก็จะได้ข้อมูลจริงจากผู้ใช้งานจริง

9. โปรแกรมบัญชี ที่ใช้ run บน application อะไร ? มีให้เลือก 2 อย่าง คือ Dos หรือ Windows โปรแกรมที่ดีควร run บน Windows เพราะเป็นที่นิยมกันโดยทั่วไปและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ส่วน Dos นั้นได้หยุดการพัฒนาไปแล้วจึงไม่เหมาะสมที่จะเลือกใช้


พีเพิลแวร์ คือ ผู้ปฏิบัติงานตามกระบวนวิธีการในกิจกรรมต่างๆ อันได้แก่ การสร้างหรือเก็บรวบรวมข้อมูล บางกลุ่มอาจทำหน้าที่ในการพัฒนาซอฟท์แวร์ขึ้นมาใหม่ๆ ตามความต้องการและในการประมาลผล และอาจเปลี่ยนแปลงโปรแกรมที่มีอยู่แล้วให้สอดคล้องตามความต้องการที่เปลี่ยนแปลงในโอกาสต่างๆ จะเห็นว่าบุคลากรทางคอมพิวเตอร์บางกลุ่มทำหน้าที่สร้างกระบวนการวิธีการให้แก่บุคลากรทางคอมพิวเตอร์กลุ่มอื่นๆ ได้เพื่อให้การทำงานหรือใช้งานด้วยคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพ

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์มีหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทก็มีหน้าที่และความรับผิดชอบแตกต่างกันไปดังนี้
ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ (User) หมายถึงผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป สามารถทำงานตามหน้าที่ในหน่วยงานนั้นๆ เช่น การพิมพ์งาน การป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านเทคนิคต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ก็ได้

 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น